การเดินทางของกาแฟ จากอดีตจนถึงวันนี้
ต้น กาแฟค้นพบครั้งแรกในเขตเอธิโอเปีย (Ethiopia) เนื่องจากชายเลี้ยงแพะสังเกตุเห็นแพะที่เลี้ยงอยู่มีอาการกระปรี้กระเปร่า เป็นพิเศษ หลังจากได้กินผลสีแดงคล้ายเชอรี่ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชายเลี้ยงแพะจึงลองเก็บผลชนิดนั้นมาลองกินดูบ้าง ปรากฎว่าเกิดอาการเช่นเดียวกับแพะ ข่าวดังกล่าวแพร่หลายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทราบไปถึงผู้สอนศาสนาที่รู้ถึง ความมหัศจรรย์ของผลสีแดงนี้ พระผู้สอนศาสนาจึงทดลองนำผลเชอรี่ดังกล่าวไปแช่น้ำและดื่มน้ำนั้นดู ทำให้เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง เหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของการดื่มน้ำผลเชอรี่หรือผลกาแฟนั่นเอง ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี คศ1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป้นที่นิยมมากบขึ้นและมี ร้านกาแฟเกิดขึ้น เป้นพี่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปินรวมเหล่านักคิด ศิลปินแต่องค์กรศาสนากับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องซุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน คนนิยมในกาแฟจึงลดลง กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง
หลัง จากนั้นการดื่มกาแฟเริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมา ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน
ปัจจุบันมีหลายประเทศปลูกกาแฟ
ภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟอยู่บริเวณแนวขนานของเส้นศูนย์สูตร และบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร หรือประเทศเขตร้อน
ปัจจุบัน มี 44 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกขององค์การผู้ปลูกกาแฟ ได้แก่ Angola , Bolivia , Brazil , Burundi , Cameroon , Central African , Columbia , Congo , Congo Republic of , Costa Rica , Cuba , Dominican , El Salvador , Equatorial Guinea , Gabon , Ghana , Guaatemala , Guinea , Haiti , Honduras , India , Indonesia , Jamaica , Kenya , Madagascar , Malawi , Maxico , Nicaragua , Nigeria , Papua New Guinea , Paraguay , Philippines , Ruanda , Tanzania , Togo , Uganda , Venezuela , Vietnam , Zambia , Zimbabue , Thailand
ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
ประเทศ ไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , สเปน , เยอรมัน , อิตาลี , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ฯลฯ *ปีพ.ศ. 2540 ประเทศไทยสามารถส่งออกกาแฟได้จำนวน 73,286 ตัน
ปัจจุบัน กาแฟถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลักและมีการซื้อขาย (Trade) กาแฟในอีกหลากหลายรูปแบบ (Commodity) เป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)
สำหรับ การเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447 โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย
กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) ปลูกในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ส่วนใหญ่ปลูกในประเทศแถบร้อนชื้น มีรสชาติเข้มข้น หอมฉุนกว่ากาแฟพันธุ์อราบิก้า มีสัดส่วนของผลผลิตกาแฟทั่วโลก 25%
โดย ส่วนแบนของเมล็ดประกบติดกัน เมื่อเก็บผลเชอรี่แล้วจึงเข้า สู่ขั้นตอนการลอกเปลือก เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ ซึ่งมี 2 กรรมวิธี คือ
1) กรรมวิธีตากแห้ง (Dry Method) เป็นการนำผลเชอรี่มาตากแห้ง ใช้เวลาประมาณ 15 วัน จากนั้นจึงทำการกระเทาะเปลือกออกอีกครั้งหนึ่ง
2) กรรมวิธีแช่น้ำ (Wet Method) คือ การนำผลเชอรี่แช่ในน้ำ เสร็จแล้วนำเข้าเครื่องกระเทาะเปลือก จากนั้นนำมาตากแห้ง หรือเข้าเครื่องอบ วิธีนี้ใช้เวลาน้อยกว่าวิธีตากแห้ง (Dry Method)
การคั่วกาแฟ
การคั่วกาแฟ การคั่วกาแฟเป็นวิธีและขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการดึงคุณสมบัติต่างของกาแฟ ออกมาไม่ว่าจะเป้นความหอม ความกลมกล่อมของรสชาติ เข้ม กลมกล่อม ต่างๆออกมา ปกติการคั่วการแฟจะใช้ความร้อนที่ 180 – 240 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาประมาณ 10 -20 นาที อุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้จะมีผลต่อความหอมและรสชาติกาแฟ เป็นอย่างยิ่ง ระดับความเข้มอ่อนของการคั่ว สามารถแบ่งออกเป็นระดับได้มากกว่า 12 ระดับ
กาแฟคั่วระดับอ่อน (light roast) สีน้ำตาลอ่อน บางกลุ่มประเทศจะเรียกว่า ซิน่าม่อนครับ เพราะมีสีเหลืองน้ำตาลแบบเปลือกต้นอบเชย การคั่วกาแฟแบนี้นั้น จะได้รสชาติควมเป็นกาแฟที่ดี อาจมีรสชาติความเปรี้ยวของกรดผลไม้ ที่มีอยู่ในกาแฟด้วย
กาแฟคั่วระดับปานกลาง ( medium roast ) จะมีระดับสีความเข้มเพิ่มมากขึ้น ปกติคนอเมริกันจะชอบทานกาแฟระดับนี้โดยชงแบบหม้อต้ม และดื่มกันเป็นแบบแก้วใหญ่ ที่เรียกว่า บักส์ซึ่งในความคิดผมกาแฟระดับนี้ จะชงกาแฟร้นได้อร่อยหอมกรุ่นมาก
การคั่วระดับเข้ม ( dark roast ) เมล็ดกาแฟที่คั่วระดับนี้จะมีสีเข้มมาก เมล็ดจะมันวาวเหมือนมีน้ำมันมาเคลือบจนบางคนเข้าใจว่าต้องใส่น้ำมันหรือเนย ด้วยขัยวครับ การคั่วแบบนี้จะให้รสเข้มข้น ซึ่งป็นรสชาติที่ชาวอิตาเลี่ยนดื่มกัน และนำกาแฟชนิดนี้ ไปใช้ชงด้วยเครืองชงแบบมีแรงดันได้กาแฟเข้มข้นที่เรียกว่า เอสเพรสโซ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น