วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แรกมี'น้ำประปา'ใช้ในสยาม

ภาพประกอบ

วันที่ 23 ตุลาคม 2553 ถือเป็นวันสำคัญและเป็นปีที่พสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศพร้อมใจกันรำลึก 100 ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ปวงชนชาวไทยต่างถวายพระนามพระ องค์ว่า “พระปิยมหาราช” อันหมายถึงพระราชาผู้เป็น ที่รักของประชาชน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่ง ใหญ่ต่อปวงชนชาวไทย ทรงให้อิสรภาพแก่ประชาชนผู้ทนทุกข์ ยากแค้นลำเค็ญ โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาส และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่พร้อมสาธารณูปโภคนานัปการ อาทิ รถไฟ ไฟฟ้า และกิจการประปา ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศมาใช้ ทำให้ชาวต่างชาติ ซึ่งแต่เดิมจะไม่พำนักอยู่ในประเทศไทยนานนัก เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่ได้รับมอบหมายก็จะเดินทางกลับทันที เนื่องจากความเป็นอยู่ไม่สะดวกสบายเหมือนในบ้านเมืองเขา โดยเฉพาะน้ำดื่ม น้ำใช้ไม่สะอาดพอ เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย เมื่อมีไฟฟ้า น้ำประปาแล้ว ชาวต่างประเทศก็เดินทางเข้ามาติดต่อทำการค้ากันมากขึ้น ประเทศไทยหรือประเทศสยามในเวลานั้น จึงเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว


กิจการประปาเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระองค์เสด็จประพาส ต่างประเทศทั้งยุโรป รัสเซีย สเปน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีน้ำประปาใช้แล้ว ส่วนใหญ่กิจการประปาจะเป็นของเอกชน เมื่อพระองค์สนพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริ ที่จะจัดสร้างระบบประปา ในกรุงเทพฯ ได้มีฝรั่งชาว ต่างชาติหลายรายเสนอตัวที่จะเป็นผู้ลงทุนผลิตน้ำประปาเพื่อจำหน่ายในเขตพระ นคร โดยอ้างว่าจะได้ไม่เปลืองงบประมาณแผ่นดิน และค่าน้ำก็จะคิดในอัตราหนึ่ง และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไม่เกินลูกบาศก์เมตรละหกสลึง (1.50 บาท) แต่เมื่อพระองค์ ทรงไตร่ตรอง และหารือกับ บรรดาเหล่าเสนาบดีแล้ว พระองค์ทรงเกรงว่าหากให้เอกชนต่างชาติรับไปดำเนินการเสียแล้ว ประชาชนคนไทยผู้ใช้บริการอาจได้รับความ เดือดร้อนจากการขึ้นค่าน้ำ ของฝรั่งก็เป็นได้ จึงได้ตัดสิน พระทัยให้กรมสุขาภิบาลเป็น ผู้ดำเนินการจัดหาน้ำสะอาดมาใช้ในพระนคร โดย พระองค์ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเป็นทุนประเดิม และเอกชนได้ร่วมสมทบ เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 4 ล้านบาทเศษในสมัยนั้น

กิจการประปาเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างในปี 2452 ตั้งแต่มีการจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างโรงกรองสามเสน (ปัจจุบันคือโรงงานผลิตน้ำสามเสน) ขุดคลองส่งน้ำจากบริเวณคลองเชียงรากมาถึงโรงกรองสามเสน การขุดฝังวางท่อจ่ายน้ำทั่วพระนคร สร้างถังสูงสำหรับช่วยเพิ่มแรงดันในการส่งน้ำไปบริการ ประชาชน (ถังสูง 2 ใบนี้ ยังคงอยู่ที่สี่แยกแม้นศรี ถนน บำรุงเมือง กทม.)

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2457 พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯทรงเป็นประธานเปิดกิจการ “การประปากรุงเทพฯ” ด้วยพระองค์เอง อันมีเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล เป็นผู้กล่าวรายงาน และพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ ตอนหนึ่งว่า “การใหญ่ของการประปาอันเป็นของค้างมาครั้งรัชกาลแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้มาทำสำเร็จไปโดยเร็วใน รัชสมัยของเราเช่นนี้ เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติเรา ใน การที่มีของสำคัญขึ้นสำหรับพระนครและเป็นการสมควรอยู่แล้วที่จะต้องแสดงให้ ปรากฏว่าการนี้ สมเด็จพระบรมชนกนารถของเราเป็นผู้ ริเริ่มดำริ กับสมควรนับเป็นอนุสาวรีย์ของพระองค์ส่วนหนึ่งได้เหมือนกัน” และอีกตอนหนึ่งว่า “ขอน้ำใสอันจะหลั่งไหลจากประปานี้ จงเป็นเครื่องประหารสรรพโรคร้าย ที่จะเบียดเบียนให้ร้ายแก่ประชาชนผู้เป็นพสกนิกร ของเรา” นี่คือที่มาของ “น้ำประปาดื่มได้” ดื่มแล้ว ปลอดภัยไร้โรคา พยาธิ นับ ตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการมาจนถึง ทุกวันนี้

ในสมัยนั้น กรุงเทพฯ มีประชากรเพียง 330,000 คน อาศัยอยู่ฝั่งกรุงเทพฯ 280,000 คน อยู่ฝั่งธนบุรี 50,000 คน เมื่อเปิดกิจการระยะแรกมีผู้ใช้น้ำเพียง 400 คน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 คน ในปี 2465 อัตราค่าน้ำ 25 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ผลิตน้ำวันละ 10,000 ลบ.ม. และสูงสุด 13,000 ลบ.ม. ในช่วงฤดูแล้ง ในด้านคุณภาพน้ำ จะมีเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลมาตรวจคุณภาพน้ำประปา โดยตรวจแบคทีเรียทุกวัน ตรวจด้านเคมีทุกเดือน (ตั้งแต่ปี 2464) ปรากฏว่าไม่พบแบคทีเรีย และปลอดภัยจากสารพิษ จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเรามีน้ำประปาที่สะอาดได้มาตรฐานเช่นเดียวกับนานา อารยประเทศ ยืนยันได้จากข้อเขียนของ Mr.Fernand Didier วิศวกรชาวฝรั่งเศส ที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นผู้บริหารกิจการประปากรุงเทพฯ ในยุคแรก เขาเขียนระบุในหนังสือ The Bangkok Water Supply Descrip- tion Of The Works For Supplying The Siamese Capital With Portable Water ว่า “น้ำประปา กรุงเทพฯ เป็นน้ำสะอาด ไม่แพ้เมืองใด ๆ ในโลก”

หลังจากปี 2529 เป็นต้นมา กิจการประปาสามารถพัฒนาและดำเนินงานก้าวหน้าไปตามโครงการแผนหลักอย่างต่อ เนื่อง มีการขยายกำลังการผลิตและจ่ายน้ำที่เป็นไปตามแผน สามารถเพิ่มผู้ใช้น้ำได้ถึงปีละ 8-9% ทุกปี ในขณะเดียวกัน การประปานครหลวงได้เริ่มจัดทำโครงการประปา ฝั่งตะวันตกเมื่อปี 2530 เพื่อ รองรับการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ของชุมชนทางด้านฝั่งธนบุรีและนนทบุรี และประการสำคัญเพื่อจัดหาแหล่งน้ำดิบแห่งใหม่สำรองจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มี อยู่เพียงแห่งเดียวและปริมาณน้ำเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงได้ก่อสร้างโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ และขุดคลองประปาสายใหม่ ขึ้นเพื่อรับน้ำจากแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีปริมาณน้ำมากและมีคุณภาพดีในระยะแรกได้ขุดคลองประปาสายใหม่ไปถึงแม่ น้ำท่าจีนและขุดต่อไปยังจังหวัดกาญจนบุรีรวมความยาว 106 กม. แล้วเสร็จเมื่อปี 2545

วันเวลาล่วงเลยมา 96 ปี วันนี้การประปากรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า การประปานครหลวง ยังคงปฏิบัติภารกิจที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่เคยเปลี่ยน นั่นคือ ผลิต น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค สำหรับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ในปริมาณที่เพียง พอและทั่วถึง ปัจจุบันการ ประปานครหลวงมีลูกค้าเกือบ 2,000,000 ราย (คิดเป็นผู้ ใช้น้ำประมาณ 10,000,000 คน) ผลิตน้ำจ่ายวันละกว่า 5,000,000 ลบ.ม.


ในโอกาสครบรอบ 96 ปี กิจการประปากรุงเทพฯ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นี้ การประปานครหลวงได้จัดกิจกรรม “วันประปาเพื่อประชาชน” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ โดยพนักงานและลูกจ้างกว่า 3,000 คน ร่วมใจกันออกให้บริการประชาชน อาทิ รับคำร้อง ยกย้ายมิเตอร์ บริการตรวจ ซ่อมท่อแตกรั่วภาย ในบ้าน ทุกกิจกรรมที่บริการประชาชน ในวันนั้น ฟรี! เพราะเป็น “วันประปาเพื่อประชาชน” ดั่งพระราชประสงค์ข ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ผู้ พระราชทานความสุขให้กับ ปวงชนชาวไทยมาจวบจนทุกวันนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น