ดร.โมเซส อาลีซาฟ จากมหาวิทยาลัยไอโอนนินา ประเทศกรีซ ผู้ศึกษา กล่าวว่า "โรคที่พบนั้นมีทั้งฟันผุ เบาหวาน กระดูกบาง กล้ามเนื้อและจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ทั้งยังมีโรค "ไฮโปคาลีเมีย" หรือระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำเกินไป"
ดร.อาลีซาฟยกตัวอย่างถึงกรณีผู้ป่วยหญิงอายุ 21 ปีและกำลังตั้งครรภ์ มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เธอมีอาการอ่อนเพลีย ไม่อยากกินอาหาร อาเจียน จากการสอบถามพบว่า ผู้ป่วยดื่มโคลาวันละ 3 ลิตรทุกๆ วัน เป็นเวลานาน 6 ปีแล้ว และพบโรค "ไฮโปคาลีเมีย" ด้วย สำหรับการรักษาทำโดยงดดื่มโคลาและให้รับประทานโพแทสเซียม ไม่นานผู้ป่วยกลับมีสุขภาพแข็งแรงดี
ในเคสอื่นที่ผู้ป่วยดื่มโคลาวันละ 2-9 ลิตร พบว่า ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อผิดปกติไปจนถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ถาวร
ดร.อาลีซาฟกล่าวต่อไปว่า "ปัจจุบันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการขายเครื่องดื่มแก้วใหญ่ ขวดใหญ่มากขึ้น เราควรต้องจับตาดูเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค"
ส่วนสาเหตุที่โคลาทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายลดลงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ที่อาจเป็นไปได้คือ น้ำตาลในโคลาทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกไปมากเกินไป อีกทฤษฎีหนึ่งคือ กาเฟอีนในโคลาเป็นตัวขับโพแทสเซียม และแม้จะเป็นน้ำอัดลมที่ไม่มีกาเฟอีน แต่ก็ทำให้เกิดโรค "ไฮโปคาลีเมีย" ได้เช่นกัน เพราะน้ำตาลฟรุกโตสในน้ำอัดลมทำให้ท้องเสียได้
ดร.อาลีซาฟกล่าวต่อไปว่า "ปัจจุบันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการขายเครื่องดื่มแก้วใหญ่ ขวดใหญ่มากขึ้น เราควรต้องจับตาดูเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค"
ส่วนสาเหตุที่โคลาทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายลดลงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ที่อาจเป็นไปได้คือ น้ำตาลในโคลาทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกไปมากเกินไป อีกทฤษฎีหนึ่งคือ กาเฟอีนในโคลาเป็นตัวขับโพแทสเซียม และแม้จะเป็นน้ำอัดลมที่ไม่มีกาเฟอีน แต่ก็ทำให้เกิดโรค "ไฮโปคาลีเมีย" ได้เช่นกัน เพราะน้ำตาลฟรุกโตสในน้ำอัดลมทำให้ท้องเสียได้
ทั้งนี้ เมื่อพ.ศ.2550 จำนวนน้ำอัดลมทั่วโลกที่บริโภคกันสูงถึง 552,000 ล้านลิตร หรือ 82.5 ลิตรต่อคน และอีก 3 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมน้ำอัดลมตั้งเป้าไว้ที่ 95 ลิตรต่อคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น