วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทียนไขมีความเป็นมาอย่างไร




ในบรรดาสิ่งที่นำมาใช้เพื่อความสว่างในบ้านเรือน (ก่อนยุคอิเล็กทรอนิกส์) แล้ว เทียนไขเกิดขึ้นทีหลังสุด เรื่องราวของมันเริ่มปรากฏในเอกสารของชาวโรมันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑ ซึ่งชาวโรมันบันทึกไว้ว่า เป็นประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ที่ใช้แทนตะเกียงน้ำมันได้

เทียนไขในยุคนั้นทำจากไขสัตว์และพืชซึ่งไม่มีสีและรสชาติ แต่รับประทานได้ ทหารในกองทัพที่อดอยากจะได้รับปันเทียนไขเป็นอาหาร
และหลายร้อยปีต่อมาการรับประทานเทียนไขก็เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ดูแลประภาคาร ซึ่งมักจะอยู่โดดเดี่ยวครั้งละนาน ๆ อีกด้วย

ปัญหาของเทียนไขในยุคก่อนคือ
การตัดไส้เทียน แม้จะเป็นเทียนไขที่มีราคาแพงมากก็ยังจำเป็นต้องตัดไส้เทียนทิ้งทุกครึ่งชั่วโมง การตัดไส้เทียนคือการค่อย ๆ ขริบเอาส่วนที่ไหม้ออกโดยไม่ทำให้เทียนดับถ้าไม่ตัดจะทำให้เทียนไขไม่สว่างเท่าทีควรและยังเปลืองเนื้อเทียนอีกด้วย คือเนื้อเทียนจะถูกใช้ไปในการเผาไหม้เพียงร้อยละ ๕ ที่เหลือจะละลายหมด และแม้จะมีการตัดไส้เทียน แต่ถ้าทำไม่ถูกวิธีเทียนไขจำนวน ๘ แท่งหนักประมาณ ๑ ปอนด์จะหมดไปภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ปราสาทหลังหนึ่ง ๆ ใช้เทียนไขสัปดาห์ละหลายร้อยเล่มและมี 'เจ้าพนักงานตัดไส้เทียน' โดยเฉพาะอีกด้วย

การตัดไส้เทียนต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ นักกฎหมายชาวสก็อตซึ่งเป็นผู้เขียนอัตชีวประวัติของซามูเอล จอห์นสัน ที่ชื่อเจมส์ บอสเวล เคยต้องตัดไส้เทียนเองหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จสักครั้ง ในปี ๒๓๓๖ เขาเขียนถึงเรื่องนี้ว่า “ผมยอมจะนั่งอยู่ทั้งคืนเพื่อตัดไส้เทียนให้ได้ จนประมาณตีสองผมพลาดไปดับเทียนเข้า...แล้วก็ไม่สามารถจุดมันขึ้นใหม่ได้"


การจุดเทียนไขโดยที่สิ่งให้แสงสว่าง ๆ อื่น ๆ ดับหมดทั่วบ้านแล้วเป็นงานที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก เนื่องจากยังไม่มีใครคิดค้นไม้ขีดไฟขึ้นได้ ใครที่เคยอ่านหรือดูเรื่องดอนกีโฮเต คงจำความหงุดหงิดของพระเอกเซอว์วานเตสขณะจุดเทียนไขจากไฟในเศษถ่านได้ดี นอกจากนี้การตัดไส้เทียนมักทำให้เทียนดับ จนคำว่า 'snuff’ ซึ่งแปลว่า 'ตัดไส้เทียน' ได้เพี้ยนความหมายกลายเป็น 'extinguish' หรือ 'ดับไฟ' ไป

กระทั่งในศตวรรษที่ ๑๗ คณะละครจะต้องมีเด็กคอยทำหน้าที่ตัดไส้เทียน (snuff boy) โดยถือว่าการตัดไส้เทียนเป็นศิลปะอย่างหนึ่งเด็กที่ทำหน้าที่นี้ต้องเดินขึ้นไปบนเวทีขณะที่ละครกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น เพื่อตัดไส้เทียนอย่างประณีตและชำนาญ ไม่ทำให้เปลวไฟแกว่งดับ หรือสะดุด อันจะรบกวนความรู้สึกของผู้ชมซึ่งกำลังสนใจและเคลิ้มไปกับเรื่องราวการแสดงบนเวทีอยู่ ถ้างานสำเร็จลุล่วงด้วยดี เขาจะได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมหนึ่งรอบเฉกเช่นนักแสดงคนหนึ่งศิลปะการตัดไส้เทียนหมดลงใน
ปลายศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อมีการใช้เทียนขี้ผึ้งกันอย่างแพร่หลาย เทียนขี้ผึ้งมีราคาแพงกว่าเทียนไขถึงสามเท่า แต่ให้ความสว่างมากกว่า และเนื้อขี้ผึ้งระเหยได้บ้าง ซามูเอล เป๊ปปีส์ ชาวอังกฤษ ได้บันทึกไว้ในปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ถึงการใช้เทียนขี้ผึ้งในโรงละคร ดรูรี เลน เธียเตอร์ ในลอนดอนว่า “เดี๋ยวนี้โรงละครสว่างขึ้นเป็นพันเท่าและดูสวยกว่าด้วย”

นอกจากนั้นผู้ที่มีฐานะร่ำรวยจะใช้เทียนขี้ผึ้งประดับบ้านในโอกาสพิเศษที่ต้องการความหรูหรา มีบันทึกระบุว่าบ้านหลังใหญ่แห่งหนึ่งในอังกฤษใช้เทียนขี้ผึ้งมากกว่าหนึ่งร้อยปอนด์ในหนึ่งเดือนในช่วงฤดูหนาวของปี พ.ศ. ๒๓๐๘

บันทึกถึงเทียนไขขอผ่านช่วงสมัยปัจจุบันไปแสดงความยินดีกับวิวัฒนาการของมันในศตวรรษหน้า เมื่ออังกฤษคิดประดิษฐ์เทียนขี้ผึ้งสีขาวเป็นมัน อเมริกากำลังทำเทียนไขสีเขียวกลิ่นเบเบอรี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น